งานการเมือง ของ ประสิทธิ์ ณรงค์เดช

นายประสิทธิ์ ได้เข้ามามีบทบาทในแวดวงการเมือง ตั้งแต่ยังเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยเป็นหนึ่งในกลุ่มนิสิตและนักศึกษาที่ก่อตั้ง สมาพันธ์นักศึกษาห้าสถาบัน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการชุมนุมประท้วงการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ที่ได้ชื่อว่าเป็นการเลือกตั้งที่ทุจริตอย่างกว้างขวางในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก่อนที่จะมีการรัฐประหารโดย พล.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปีเดียวกัน และเข้ามามีบทบาทอย่างเต็มตัวหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 โดยได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ และเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคพลังใหม่ โดยมี น.พ.กระแส ชนะวงศ์ เป็นหัวหน้าพรรค นายประสิทธิ์ได้ลงรับเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2518 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

ต่อมาในรัฐบาลม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช นายประสิทธิ์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าการเคหะแห่งชาติ และประธานธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในสมัยรัฐบาลพล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยการกระทรวงคมนาคม ในปี พ.ศ. 2520[1]

ในปี พ.ศ. 2522 นายประสิทธิ์ได้ลงเลือกตั้งในจังหวัดอุบลราชธานี และได้รับการเลือกตั้ง ทำให้ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลพล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์[2] หลังจากปี พ.ศ. 2526 นายประสิทธิ์ได้ยุติบทบาททางการเมืองลง แต่อีกหลายปีต่อมา คือ ในปี พ.ศ. 2530 เขาเข้ามามีบทบาทในฐานะเลขาธิการพรรคกิจประชาคม[3] ซึ่งมี บุญชู โรจนเสถียร เป็นหัวหน้าพรรค

ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2538 นายประสิทธิ์ได้ลงเลือกตั้งอีกครั้งที่จังหวัดอุบลราชธานี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคนำไทย และได้รับเลือกตั้ง จนกระทั่งถึงวาระที่นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีได้ยุบสภาเมื่อปี พ.ศ. 2539 บทบาททางการเมืองของนายประสิทธิ์จึงได้ยุติลง โดยหันไปประกอบธุรกิจแต่เพียงอย่างเดียว

ใกล้เคียง

ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ ประสิทธิ์ ณรงค์เดช ประสิทธิ์ แดงดา ประสิทธิ์ วุฒินันชัย ประสิทธิ์ พยอมยงค์ ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล ประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล ประสิทธิ์ จุลละเกศ ประสิทธิ์ ผดุงโชค